::บ้านดอนเรดิโอ คือมิตรภาพบนโลกไอที ::
 

สถานีความแห่งความบันเทิงบนโลกอินเตอร์เน็ต ศูนย์รวมแห่งเสียงเพลงลูกทุ่งอีสานผญาอีสาน 


 

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เพลงธรรมะไทย 10 ชุดที่ฝากไว้แก่โลก

 banner_web_56

คลิกฟังเสียงเพลธรรมะไทย


เพลงธรรมะ ชุดที่1


เพลงธรรมะ ชุดที่ 2


เพลงธรรมะชุดที่ 3

เพลงธรรมะชุดที่ 4



เพลงธรรมะ ชุดที่ 5


เพลงธรรมะชุดที่6


เพลงธรรมะชุดที่7


เพลงธรรมชุดที่8


เพลงธรรมะ ชุดที่ 9

เพลงธรรมะชุดที่10

เพลงธรรมะไทย 10 ชุดที่น่าฟัง

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Travel - Manager Online - เที่ยว“ศรีสัชนาลัย” มรดกโลกทรงคุณค่า ชุมชนทรงเสน่ห์

 

เที่ยว“ศรีสัชนาลัย” มรดกโลกทรงคุณค่า ชุมชนทรงเสน่ห์

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 ตุลาคม 2553 16:50 น.

รถราง พาหนะชมโบราณสถาน

       ก่อนหน้าที่กรุงสุโขทัยจะขึ้นมาเป็นราชธานีแรกแห่งสยามประเทศนั้น ปรากฏหลักฐานว่ามีเมือง 2 เมืองในลุ่มแม่น้ำยมเจริญรุ่งเรืองเคียงคู่กัน
       หนึ่งนั้นคือเมืองสุโขทัย ส่วนอีกหนึ่งคือเมืองเชลียง
       เมื่อเมืองสุโขทัยพัฒนากลายมาเป็นราชธานีโดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรก เมืองเชลียงได้ลดฐานะลงเป็นเมืองลูกหลวง* แต่ก็ยังมีความสำคัญเคียงคู่กัน

วัดนางพญา

 

       โดยเมืองเชลียง หรือ เฉลียง เชียงชื่น เฉินเหลียง สวรรคโลก เหล่านี้คือสถานที่เดียวกัน เป็นชื่อดั้งเดิมของเมือง(เก่า)ศรีสัชนาลัย ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ไม่แพ้อาณาจักรสุโขทัย
       ขณะที่ปัจจุบันเมืองเก่าศรีสัชนาลัยถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย เพราะมีดีกรีเป็นมรดกโลกเคียงคู่มากับเมืองเก่าสุโขทัยและเมืองเก่ากำแพงเพชร โดยไฮไลท์ของอดีตอันรุ่งโรจน์ของเมืองเก่าศรีสัชนาลัยนั้นอยู่ที่ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จุดหมายหลักของ “ตะลอนเที่ยว” ในทริปนี้

ลวดลายปูนปั้นที่หลงเหลือ

       อุทยานฯศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งโบราณสถานเก่าแก่ในยุคทองของงานศิลปกรรมและงานพุทธศิลป์แห่งสยามประเทศ ดังนั้นการถ่ายทอดศิลปะของช่างฝีมือจึงมีความสวยงาม ละเมียดละไม และสลับซับซ้อนมากกว่าช่างในสมัยนี้
       อุทยานฯศรีสัชนาลัย แบ่งพื้นที่เป็นส่วนนอกและส่วนในกำแพงเมืองเก่า มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ในเขตของ ต.ศรีสัชนาลัย ต.สารจิตร ต.หนองอ้อ ต.ท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ต.ศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประณ 45.14 ตารางกิโลเมตร

วัดช้างล้อม

       ผู้สันทัดกรณีส่วนใหญ่คาดว่าในบริเวณอุทยานฯมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุรวมทั้งหมดประมาณ 200 กว่าแห่งหรืออาจมากกว่านั้น โดยโบราณสถานที่ส่วนใหญ่จะเป็นวัดวาอาราม ซึ่งหลักๆ ประกอบไปด้วย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดชมชื่น วัดเขาพนมเพลิง วัดสวนแก้วอุทยานใหญ วัดนางพญา วัดเขาสุวรรณคีรี วัดสวนแก้วอุทยานน้อย และวัดช้างล้อม
       ใครที่มาเที่ยวอุทยานฯศรีสัชฯแล้วมีเวลาน้อย “ตะลอนเที่ยว” ขอแนะนำให้นั่งรถรางเที่ยวชมในบริเวณเขตกำแพงเมืองเก่า ซึ่งจะมีวิทยากรคอยบรรยายให้ความรู้ไปตลอดเส้นทาง
       สำหรับวัดหลักๆ ที่รถรางสามารถพาเที่ยวชมได้ประกอบไปด้วย

พระพุทธรูปปูนปั้นปางนาคปรกวัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดนางพญา อยู่ทางกำแพงทิศใต้ สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น ก่อด้วยศิลาแลง หลังคาเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันยังคงปรากฏเสา และตัวเจดีย์ ให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ที่เป็นไฮไลท์ของวัดนนี้คือลวดลายปูนปั้นอายุกว่า 700 ปี ที่ถูกรักษาไว้เป็นอย่างดี และลายปูนปั้นนี้เองที่ช่างฝีมือเมืองศรีสัชนาลัยนำไปเป็นแบบในการทำลายเครื่องเงินและเครื่องทอง จนปัจจุบันกลายเป็นเอกลักษณ์ที่รู้จักกันในนาม “เครื่องเงิน เครื่องทองโบราณ ศรีสัชนาลัย”

วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดช้างล้อม เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีถูกสร้างขึ้นอยู่ใจกลางเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ครั้งเมื่อมีการเฉลิมฉลองใหญ่ในอดีต เจดีย์ประธานทรงกลม ฐานประทักษินสูง รายล้อมไปด้วยประติมากรรมลอยตัวรูปช้างประดับอยู่ 39 เชือก ด้านบนเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ข้อสันนิษฐานการสร้างช้างไว้รอบเจดีย์นี้คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศศรีลังกา อาจได้รับอิทธิพลมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โดยถือคติที่ช้างนั้นเป็นสัตว์มงคลและมีบทบาทในการอุปถัมภ็ค้ำจุนพุทธศาสนาตลอดมา

เตาทุเรียง

วัดเจดีย์เจ็ดแถว อยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม ภายในบริเวณวัดประกอบไปด้วยเจดีย์ทรงต่างๆ กว่า 33 องค์ ตั้งอยู่อย่างมีระเบียบแบบแผน จนทำให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าอาจเป็นสุสานหลวงหรือเป็นที่บรรจุอัฐิของพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์สุโขทัย โดยเจดีย์ภายในวัดสามารถจำแนกตามลักษณะเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ เจดีย์ทรงดอกบัวตูมซึ่งเป็นเอกลักษณะของศิลปะสุโขทัย เจดีย์ทรงปราสาทและเจดีย์ทรงกลม

เศษเครื่องสังคโลกโบราณ

       และนั่นถือเป็นไฮไลท์บางส่วนในการย้อนรอยอดีตที่อุทยานฯศรีสัชนาลัย ซึ่งการที่มีโบราณสถานหรือวัดวาอารามนั้นไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงฝีมือของช่างศิลป์ในอดีต แต่ยังสามารถสะท้อนเรื่องราวในสังคมตลอดจนวิถีชีวิตในยุคนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อสภาพสังคมสงบสุข ประชาชนไม่ได้ทุกข์ยาก ขัดสน พระพุทธศาสนาย่อมเจริฐรุ่งเรืองตามไปด้วย ผิดกับปัจจุบันที่สภาพสังคมมีแต่จะยุ่งเหยิงและวุ่นวายไปทุกวันไม่เว้นในวงการพุทธศาสนา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม “ตะลอนเที่ยว” ยังเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนไทยทุกคนยังคงมองเห็นความสำคัญและความสวยงามของพระพุทธศาสนาอยู่เสมอแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป
       จากอุทยานฯศรีสัชฯ เราเดินทางมาดูเตาเผาเครื่องสังคโลกโบราณ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ”เตาทุเรียง” บ้านเกาะน้อย ที่อยู่ไม่ไกลจากบริเวณกลุ่มโบราณสถาน

ขั้นตอนการทำเครื่องเงิน

       เตาที่ขุดพบบริเวณนี้กระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณ และมีส่วนที่ทางกรมศิลปากรได้ขุดค้นทำการศึกษาและได้จัดสร้างเป็นอาคารแสดงเตาทุเรียง และประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มขุดสำรวจ และภายนอกก็ได้นำเอาเศษของเครื่องสังคโลกโบราณมา วางเรียงกันไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชม เครื่องสังคโลกของเมืองสุโขทัยนั้นมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ซึ่งยังคงความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์มาได้จนทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเพราะลูกหลานชาวศรีสัชนาลัยนั้นเห็นในคุณค่าที่ควรจะสานต่อความรู้และภูมิปัญญาอันเก่าแก่เอาไว้

ลวดลายโบราณที่เป็นเอกลักษณ์

       ก่อนจะเดินทางต่อ “ตะลอนเที่ยว” เปลี่ยนบรรยากาศมาช้อปปิ้งกระจายรายได้ซื้อเครื่องเงินลายโบราณกันที่ร้าน “ลำตัดเงินโบราณ” ที่นอกจากจะได้ซื้อเครื่องเงินสวยงามแล้ว ยังได้มาดูวิธีการทำเครื่องเงินว่ากว่าจะออกมาเป็นเครื่องเงินสำเร็จรูปอย่างที่เห็นนั้น ต้องผ่านหลายกรรมวิธีตั้งแต่หลอม ขึ้นรูป และที่สำคัญที่สุดคือการทำลายที่เป็นลายแบบโบราณ เช่นลายเครือวัลย์ และลายอื่นๆ ที่เห็นได้จากลายปูนปั้น วัดนางพญา การเติมลวดลายลงเครื่องเงินนั้นที่อื่นจะใช้วิธีการตอกลาย แต่ที่สุโขทัยนี้จะใช้การติดลายลงไป ทำให้เครื่องเงินของที่นี่มีความอ่อนช้อยกว่า หนึ่งชิ้นของเครื่องเงินจึงต้องใช้เวลาในการทำนานประมาณหนึ่งสัปดาห์

ต้มผ้าด้วยสีจากธรรมชาติ

       จากนั้นเราเดินทางไปยังบ้านนาต้นจั่น เพื่อมาชมวีถีชีวิตและชุมชนน่าอยู่ ที่นอกจากโฮมเสตย์ของที่นี่จะได้มาตรฐานของกระทรวงการท่องเที่ยวฯแล้ว ผ้าทอหมักโคลนของที่นี่ยังขึ้นชื่อ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านก็ได้ทำการรวมกลุ่มกันเพื่อกระจายรายได้ให้กว่างขวางขึ้น
       สำหรับขั้นตอนการทำผ้าทอหมักโคลนบ้านนาต้นจั่น เริ่มตั้งแต่ย้อมด้ายและแจกจ่ายให้กับสมาชิกไปทอ ซึ่งลวดลายผ้าทอจะมีหลายลายเช่น ลาย ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกแก้ว แล้วจึงถึงขั้นตอนสำคัญคือการนำผ้าที่ได้มาหมักกับโคลน

หมักโคลน เคล็ดลับของความนุ่ม

       เมื่อก่อนนั้นโคลนที่ใช้จะเป็นโคลนที่ขุ้นไปหามาจากบนภูเขา แต่ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ดินถล่มบ่อยครั้ง จึงต้องเปลี่ยนมาใช้โคลนจากตามลำคลองแต่ถึงอย่างไรต้องเลือกใช้โคลนที่มีความละเอียดและมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผ้าที่นิ่ม ใส่สบาย โดยการหมักทิ้งไว้หนึ่งวัน จากนั้นจึงนำมาล้างโคลนออกแล้วนำไปต้มด้วยสีจากวัตถุดิบธรรมชาติซึ่งหาได้ในชุมชน เช่น มะเกลือ ใบจั่น ประโยชน์ของโคลนที่น้อยคนจะรู้คือเมื่อนำผ้าไปหมักแล้วจะได้ผ้าที่ใส่แล้วเย็นสบายในหน้าร้อน และยังให้ความอบอุ่นได้เมื่ออากาศเย็น

สวยงามและใส่สบาย

       ไม่ไกลจากแหล่งผลิตผ้าหมักโคลนเป็นบ้านของคุณตาวงศ์ เสาฝั้น ผู้ที่แม้จะมีอายุปาเข้าไปตั้ง 83 ปี แต่คุณตายังมีความสุขกับการทำของเล่นโบราณจากไม้โดยเฉพาะกับตุ๊กตาบาร์โหนอันโดดเด่น เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นต่อๆไปได้เรียนรู้กัน

คุณตาวงศ์ ผู้ประดิษฐ์ของเล่นจากไม้

       คุณตาวงศ์ เล่าให้“ตะลอนเที่ยว”ฟังว่า เริ่มทำของเล่นไม้จำพวกตุ๊กตาไม้มากว่า 20 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมทีได้ความคิดมาจากการทำของเล่นจากกระดาษ เมื่อชำนาญขึ้นก็เปลี่ยนมาใช้ไม้เป็นวัสดุ เกิดเป็น“ตุ๊กตาบาร์โหน”ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายพอสมควรในกลุ่มของนักท่องเที่ยวและเด็กๆในชุมชน

ตุ๊กตาบาร์โหนฝีมือคุณตาวงศ์

       ทำให้ปัจจุบันแม้คุณตาวงศ์จะมียอดสั่งซื้อของเล่นโบราณเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถทำขายได้ทัน เพราแต่ละขั้นตอนของการทำนั้นคุณตาเป็นคนทำคนเดียว
       ดังนั้นหากใครที่สนใจจะมาลองเล่นของเล่นโบราณต่างๆ ก็แวะมาได้ ดีไม่ดีอาจได้ฟังเสียงซึงเพราะๆจากตาวงศ์กลับบ้านไปพร้อมกับความประทับใจ เหมือนที่“ตะลอนเที่ยว”ได้รับจากการตะลอนทัวร์ เมืองศรีสัชนาลัยในครั้งนี้

บรรยากาศทุ่งนาอันเขียวขจี

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
*เมืองลูกหลวง คือเมืองที่พระอุปราช หรือบุคคลที่จะได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ต่อไป จะถูกส่งมาปกครองที่เมืองลูกหลวงนี้ เหมือนกับเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะได้ปกครองอาณาจักรจริงๆ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท ผู้ที่ต้องการใช้บริการรถราง เสียค่าบริการชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท และนักท่องเที่ยวที่ต้องการวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-5567-9211
นอกจากนี้ยังสอบถามข้อมูลการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ใน อ.ศรีสัชนาลัย และในจังหวัดสุโขทัย เพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานสุโขทัย โทร. 0-5561-6228-9, 0-5561-6366

Travel - Manager Online - เที่ยว“ศรีสัชนาลัย” มรดกโลกทรงคุณค่า ชุมชนทรงเสน่ห์

Travel - Manager Online - รำลึกพระพุทธเจ้าหลวง กับ วัด-วัง ในรัชกาลที่ 5

 

รำลึกพระพุทธเจ้าหลวง กับ วัด-วัง ในรัชกาลที่ 5

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
20 ตุลาคม 2553 15:58 น.

พระบรมรูปทรงม้า

       เวียนมาถึงอีกครั้งกับ“วันปิยมหาราช” 23 ต.ค.
       สำหรับปีนี้(2553)มีความพิเศษยิ่ง ตรงที่เป็นปีครบรอบ “100 ปี แห่งการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5“
       โดย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระบรมราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 และสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินี ตลอดเวลา ที่สมเด็จพระปิยมหาราชได้เสวยราชสมบัตินั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระองค์นั้น เป็นระยะเวลาที่อารยธรรมสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ชาติไทย และเป็นพื้นฐานให้ชาติไทยได้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนถึงสมัยทุกวันนี้
       พระองค์ท่านหลังทรงครองราชย์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยเป็นเวลา 42 ปี ก็ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 5 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 เมื่อพระชนมายุได้ 58 พรรษา และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอเนกอนันต์ปวงประชาชาติไทยจึงได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง” หรือ “สมเด็จพระปิยมหาราช”
       ทั้งนี้นอกจากศูนย์รวมความเคารพของพระองค์ท่านที่“พระบรมรูปทรงม้า” หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว พระพุทธเจ้าหลวงยังมีสถานที่แทนพระองค์ให้ปวงชนชาวไทยน้อมรำลำถึงพระองค์ท่านอีกมากมายสถานที่หลายแห่งปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันโดดเด่น โดยเฉพาะกับบรรดา“วัดและวัง”ต่างๆในรัชกาลที่ 5 ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ท่าน ซึ่งมีดังนี้

พระที่นั่งอนันตสมาคม

“พระราชวังดุสิต” เป็นหนึ่งในพระราชวังสำคัญที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างที่อยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมาจึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล
       นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริโปรดฯให้สร้างพระที่นั่งต่างๆขึ้นเพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีได้เช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวังภายในพระราชวังดุสิต ประกอบด้วยพระที่นั่งที่สำคัญ อาทิ “พระที่นั่งอนันตสมาคม” เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ และนีโอคลาสสิก พระที่นั่งตกแต่งด้วยหินอ่อนจากอิตาลี มีจุดเด่นที่หลังคาโดมคลาสสิกของโรมอยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆโดยรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคมนี้จัดได้ว่าเป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย
“พระที่นั่งอัมพรสถาน” เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สำหรับ “พระที่นั่งอภิเษกดุสิต” ซึ่งสร้างด้วยไม้เป็นส่วนมาก มีลวดลายฉลุ ประดับกระจกสี และลวดลายปูนปั้นที่หน้าบัน จึงทำให้พระที่นั่งองค์นี้งดงามมาก

พระที่นั่งวิมานเมฆ ในพระราชวังดุสิต

       อีกหนึ่งพระที่นั่งสำคัญในพระราชวังดุสิต คือ “พระที่นั่งวิมานเมฆ” โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชังมาสร้างในพระราชวังดุสิตแทน หลังแล้วเสร็จถือเป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต
       จากพระราชวังดุสิตที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล มารู้จักกับ “พระราชวังฤดูร้อนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้สร้าง“อาคารอาไศรยสฐาน” ขึ้น 3 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมายังเกาะสีชัง ซึ่งในขณะนั้นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีทรงพระครรภ์ใกล้มีพระประสูติการ ดังนั้น พระองค์จึงทรงสร้างพระราชฐานขึ้น และพระราชทานนามว่า “พระจุฑาธุชราชฐาน” ตามพระนาม แต่หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 การก่อสร้างทั้งหมดก็ได้ชะงักลง ก็ถือเป็นการสิ้นสุดการเป็นเขตพระราชฐานนับแต่นั้นมา
       สำหรับอีกหนึ่งพระราชวังในรัชกาลที่ 5 ก็คือ “พระราชวังบางปะอิน” จ.อยุธยา ซึ่งเป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะถูกปล่อยทิ้งรกร้างหลังการเสียกรุง
       กระทั่งมาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระราชวังบางปะอินขึ้นมาใหม่

หอวิฑูรทัศนา พระราชวังบางปะอิน

       ในขณะที่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำมีความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆในพระราชวังบางปะอินเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นที่ประทับ รับรองพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
       สำหรับสิ่งปลูกสร้างในพระราชวังบางปะอินในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เด่นๆ มีดังนี้ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการและใช้เป็นที่ประทับ, สภาคารราชประยูร ปัจจุบันใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน
"หอวิฑูรทัศนา" ใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง,อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน,พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนอันสวยงาม

ศิลปกรรมยุโรปที่วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร

       จากพระราชวังในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนบรรยากาศมาเป็นวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกันบ้าง โดยตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน หากข้ามกระเช้าไปจะเจอกับ “วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร” ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดฯให้สร้างขึ้น เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เป็นศิลปะแบบโกธิค

วัดเล่งฮกยี่

       ส่วนอีกหนึ่งวัดที่มีชื่อเสียงก็คือ “วัดเล่งฮกยี่” จ.ฉะเชิงเทรา เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา และได้ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” โดยภายในวัดมีพระประธานที่ทำจากกระดาษ หรือที่เรียกว่าเปเปอร์มาเช 3 องค์ คือ พระอมิตพุทธเจ้า พระศรีศากยมุนี และพระไภษัชคุรุพุทธเจ้า และ 18 อรหันต์ ทั้งหมดนั้นนำมาจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

ศิลปกรรมแบบฝรั่งเศสภายในอุโบสถวัดราชบพิธ

       จากอยุธยาเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อมาน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านรัชกาลที่ 5 ที่ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เป็นวัดที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นวัดแรก หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี เพื่อให้เป็นวัดประจำรัชกาลตามโบราณราชประเพณี มีสิ่งปลูกสร้างหลักก็คือพระเจดีย์ทรงไทย ที่ล้อมรอบด้วยพระระเบียงวงกลมที่เชื่อมต่อพระวิหารและพระอุโบสถไว้ด้วยกัน ผนังระเบียงประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง กระจก ที่นับว่าวิจิตรบรรจงอย่างมาก
       ส่วนภายในพระอุโบสถเป็นงานศิลปกรรมแบบฝรั่งเศสคล้ายกับพระที่นั่งในพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศส มีพระพุทธอังคีรส เป็นพระประธาน สร้างขึ้นโดยการหล่อทำเป็นพิธีกระไหล่ทองทั้งองค์ สิ้นเนื้อทอง 180 บาท ซึ่งเป็นทองคำที่พระองค์ใช้แต่งเมื่อทรงพระเยา
       ความสำคัญอีกส่วนหนึ่งของวัดราชบพิธคือ ที่นี่เป็นสุสานหลวงส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 ที่สร้างเจดีย์สถานอุทิศแด่พระมเหษี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนเจ้าจอมทุกพระองค์สมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้วัดราชบพิตรยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

วัดเบญจมบพิตร

       ในขณะที่วัดเบญจมบพิตร อันสวยงามเป็นหนึ่งในสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งสยามประเทศนั้น หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แต่อันที่จริงวัดนี้เป็นวัดเก่าที่ภายหลังรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า“วัดเบญจบพิตร” อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ก่อนที่รัชกาลที่ 5 จะทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ พร้อมกับพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5
       และนี่ก็คือวัด-วัง ในรัชกาลที่ 5 อันโดดเด่น ที่นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีความสวยงาม มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และมีความเกี่ยวพันธ์กับพระองค์ท่านให้พสกนิกรชาวไทยได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณแล้ว วัด-วัง เหล่านี้ยังเป็นมรดกสำคัญแห่งสยามประเทศที่มีคุณค่ายิ่ง

Travel - Manager Online - รำลึกพระพุทธเจ้าหลวง กับ วัด-วัง ในรัชกาลที่ 5

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทขับร้องสรรเสริญเทพเจ้าอินเดียที่ฟังแล้วไพเราะมากครับ

 

 51Co-nguXBL__SL500_AA280_

สวดมนต์สรรเสริญเทพเจ้าอินเดีย


 ฟังออนไลน์Shiva_shambho:

 ฟังออนไลน์Govindam :

 ฟังออนไลน์Jay_shree_krishna :

 ฟังออนไลน์Aum_shree_ram:

 ฟังออนไลน์Jaya_shiva_shankara:

 ฟังออนไลน์Govinda_jaya_jaya:

 ฟังออนไลน์Gayatri_mantra:

 ฟังออนไลน์Bhumi_Prathna:

 ฟังออนไลน์Ganehshay_Smaran :

 ฟังออนไลน์Guru_Smaran:

 ฟังออนไลน์Hari_Om:

 ฟังออนไลน์ Kar_Darshan:

 ฟังออนไลน์ Karyasiddh:

 ฟังออนไลน์Mangal_Kamna :

 ฟังออนไลน์ Navgrah_Prathna:

 ฟังออนไลน์Nivedan:

 ฟังออนไลน์Par_Brahman:

 ฟังออนไลน์Prakruti_Prathna:

 ฟังออนไลน์Pranayam_Mantra:

 ฟังออนไลน์Prati_Smaran :

 
รวมสวดมนต์สรรเสริญเจ้าอินเดีย
 

 คลิกฟังออนไลน์Ramaym_Smaran:

 ฟังออนไลน์Snan_Mantra:

 ฟังออนไลน์ Surya_Namaskar:

 ฟังออนไลน์Surya_Prathna:

 ฟังออนไลน์ Suryadharya_Mantra:

 ฟังออนไลน์Thandi_Smaran:

 ฟังออนไลน์Vishno_Smaran:

 ฟังออนไลน์Bhavanyashtakam:

รวมบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าอินเดีย



 ฟังออนไลน์Commentary :

 ฟังออนไลน์Devi_Stuti:

 ฟังออนไลน์Gayatri_Mantra:

 ฟังออนไลน์Gayatri_Stuti:

 ฟังออนไลน์Mahalakshmi_Stotra:

 ฟังออนไลน์Krishna_Avaahan :

 ฟังออนไลน์ Mahamrityunj_ya Mantra:

 ฟังออนไลน์ Om_Asto_Maa_Sadgamaya:

 ฟังออนไลน์Omkar_Sadhana :

 ฟังออนไลน์Punyahavachan_Mantra:

 ฟังออนไลน์Ram_Stuti:

 ฟังออนไลน์Shantipaath :

 ฟังออนไลน์ Shiva_Aavaahan :

 ฟังออนไลน์ Shri_Ramchandra_Kripalu :

 ฟังออนไลน์Surya_Prarthan:

 ฟังออนไลน์Vishnu_Aavaahan:

 ฟังออนไลน์Vighnanivarak_Siddhivinayak_Storam:

 ฟังออนไลน์ Jai Jai Ganpati Bhaktani:

 ฟังออนไลน์shiva ashtatakam:

 ฟังออนไลน์All_glories_to_Lord_Narasimha :

 ฟังออนไลน์Narashimma:

 ฟังออนไลน์NARASIMHA:

 ฟังออนไลน์Narasimha_Arati:

 ฟังออนไลน์NRSIMHA_'MAYAPUR':

 ฟังออนไลน์NRSIMHA_PRANAM :

 ฟังออนไลน์Narasimha_kavacha:

 ฟังออนไลน์Aarti_Brahmanaspati:

 ฟังออนไลน์Shani_Aarti:

บทสวดขับสรรเสริญเทพเจ้าอีนเดียไพเราะชวนฟังมากๆๆ

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons